การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายอากาศยานไร้คนขับเพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของ งานป้องกันทางลาดไหล่: กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พลปรีชา ชิดบุรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กรกฎ นุสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนภัทร วิสิทธิเขต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ฐิติชญา สระทองแมว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิวกร ทองคุ้มญาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ภานุพงศ์ เขื่อนมณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การติดตามงานป้องกันทางลาดไหล่, การสำรวจด้วยภาพถ่าย, อากาศยานไร้คนขับ, การสร้างแบบจำลองสามมิติ

บทคัดย่อ

การตรวจสอบและติดตามสภาพของเขื่อนและบริเวณโดยรอบเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนในงานชลประทาน แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มีความลาดชันสูงโดยเฉพาะบริเวณทางลาดไหล่เขายังเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตรวจวัดและติดตามด้วยวิธีการสำรวจแบบดั้งเดิม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับสำหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลงของงานป้องกันทางลาดไหล่บริเวณท้ายเขื่อน โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โดยในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายด้วยกล้อง DJI Zenmuse X5S จากอากาศยานไร้คนขับรุ่น DJI Inspire 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และทำการรังวัดและประมวลภาพถ่ายด้วยโปรแกรม ContextCapture สำหรับสร้างแบบจำลองสามมิติในรูปแบบของ Point Cloud จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจนี้ไปประเมินการเปลี่ยนแปลงโดยเปรียบเทียบกับการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับของกรมชลประทาน เมื่อเมษายน พ.ศ. 2561 ด้วยเทคนิค M3C2 บนโปรแกรม CloudCompare ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความถูกต้องของการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเทียบกับการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม GNSS แบบ RTK มีค่า RMSE เท่ากับ 0.104 เมตร อย่างไรก็ตามสำหรับผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงของงานป้องกันทางลาดไหล่ไม่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญเนื่องมาจากความถูกต้องของการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในระดับเดซิเมตร ดังนั้นการประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มีความลาดชันสูงสำหรับงานชลประทานได้อย่างสะดวก

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ชิดบุรี พ., นุสิทธิ์ ก., วิสิทธิเขต ธ., สระทองแมว ฐ., ทองคุ้มญาติ ศ., และ เขื่อนมณี ภ., “การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายอากาศยานไร้คนขับเพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของ งานป้องกันทางลาดไหล่: กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก”, ncce27, ปี 27, น. SGI11–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##