การจำลองพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งและคุณสมบัติฝายช่องเปิด

  • ทศพล ทุ่งฝนภูมิ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปริตา บุญชอบ
  • เอกรินทร์ สุดใจ
  • ปรัชญา แสนแปง
  • กรกฎ นุสิทธิ์
  • สุริยาวุธ ประอ้าย
คำสำคัญ: การไหลของเม็ดแห้ง, ฝายช่องเปิด, ระเบียบวิธีดิสครีตเอลิเมนต์, ประสิทธิภาพการดักจับ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการจำลองการไหลของเม็ดแห้งในรางเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งเมื่อผ่านฝายช่องเปิด ดำเนินการจำลองโดยใช้ Discrete element method (DEM) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งที่มีรูปทรงหลายด้านจำเป็นต้องใช้วิธี Contact dynamics (CD) ตัวแปรสำคัญที่ต้องการศึกษาคือ รูปแบบและมุมภายในของฝายช่องเปิด ความลาดชันการไหลถูกกำหนด 30 องศาและระยะช่องว่างของฝาย 1.22d95 การศึกษาพบว่า ฝายรูปแบบรูปตัวอัลฟามีประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกและการดักจับมากกว่าฝายรูปแบบรูปตัววี ประสิทธิภาพการดักจับของฝายช่องเปิดสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของแต่ละช่วงมุมภายในของฝายมากกว่าการดูดซับแรงกระแทก ดังนั้นฝายช่องเปิดทุกฝายที่ได้ทำการศึกษาในการดูดซับแรงกระแทกไม่มีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพของฝายช่องเปิดเมื่อมุมภายในเปลี่ยนไปในช่วง 60 ถึง 100 องศา แต่ประสิทธิภาพการดักจับบ่งบอกประสิทธิภาพของฝายได้อย่างชัดเจนเมื่อรูปแบบและมุมภายในของฝายที่ต่างกัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>