การศึกษาความสามารถในการเคลือบผิวและกันน้ำของแอสฟัลต์อิมัลชันผสมน้ำยางพาราธรรมชาติเข้มข้น

ผู้แต่ง

  • วรรณิกา ขันคำนันต๊ะ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กรกฎ นุสิทธิ์
  • พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม
  • พิทยุตม์ เจริญพันธุ์
  • จีรพงษ์ เหล่าน้ำใส

คำสำคัญ:

น้ำยางพาราธรรมชาติ, แอสฟัลต์อิมัลชัน, ปรับปรุงคุณสมบัติ, การปะซ่อมผิวทาง, ความสามารถในการเคลือบหินและกันน้ำ

บทคัดย่อ

แอสฟัลต์หรือยางมะตอย เป็นวัสดุสำคัญที่ใช้อย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน มีคุณสมบัติในการประสานหรือยึดเกาะวัสดุมวลรวมเข้าด้วยกัน จากการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผ่านมาพบว่าเมื่อนำแอสฟัลต์ซีเมนต์ชนิดผสมร้อนผสมกับน้ำยางพาราธรรมชาติ แล้วสามารถปรับปรุงคุณสมบัติบางประการของแอสฟัลต์ซีเมนต์ให้ดีขึ้น ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาการนำแอสฟัลต์อิมัลชัน ซึ่งเป็นแอสฟัลต์ชนิดผสมเย็น(Cold Mix Asphalt) ชนิด CMS-2h สำหรับปะซ่อมผิวทางมาผสมกับน้ำยางพาราธรรมชาติและศึกษาคุณสมบัติและประสิทธิภาพของส่วนผสม สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำแอสฟัลต์อิมัลชันชนิด CMS-2h ผสมน้ำยางพาราธรรมชาติเข้มข้นที่สูตรอัตราส่วนผสมร้อยละ 1, 3 และ 5 และทดสอบความสามารถในการเคลือบหินและกันน้ำตามมาตรฐาน ASTM D 244 ก่อนที่จะนำไปผสมกับวัสดุมวลรวมเพื่อใช้งานเป็นวัสดุปะซ่อมผิวทาง เนื่องจากการทดสอบคุณสมบัติ
ดังกล่าวแสดงถึงการทนต่อความชื้นและป้องกันการหลุดล่อน ซึ่งจำเป็นต่อการพิจารณาการนำผลิตภัณฑ์แอสฟัลต์อิมัลชันผสมน้ำยางพาราธรรมชาติไปใช้งาน โดยมาตรฐานการทดสอบของวัสดุมวลรวมในสภาวะเปียกอยู่ที่ร้อยละ 60 และวัสดุมวลรวมในสภาวะแห้งอยู่ที่ร้อยละ 80 ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนผสมที่สามารถนำมาใช้งานได้คือแอสฟัลต์อิมัลชันชนิด CMS-2h ผสมยางพาราชนิดเข้มข้นร้อยละ 1

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
ขันคำนันต๊ะ ว., นุสิทธิ์ ก., จิตเสงี่ยม พ. ., เจริญพันธุ์ พ., และ เหล่าน้ำใส . จ., “การศึกษาความสามารถในการเคลือบผิวและกันน้ำของแอสฟัลต์อิมัลชันผสมน้ำยางพาราธรรมชาติเข้มข้น”, ncce27, ปี 27, น. MAT49–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##