การตรวจสอบ และการประเมินความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ เพื่อวางแผนซ่อมแซมโครงสร้างทางพิเศษ

  • อิศราพงษ์ ขานทอง แผนกทดสอบ ควบคุมคุณภาพและพัฒนามาตรฐาน กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
คำสำคัญ: เหตุเพลิงไหม้, การประเมินความเสียหาย, การซ่อมแซมโครงสร้างทางพิเศษ, การตรวจสอบค่าแรงดึงของลวดอัดแรง

บทคัดย่อ

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นบริเวณโครงสร้างทางพิเศษในหลาย ๆ เหตุการณ์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเหตุทำให้โครงสร้างทางพิเศษได้รับความเสียหาย ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบโครงสร้างดำเนินการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายของโครงสร้างทางยกระดับเพื่อวางแผนซ่อมแซมโครงสร้างทางยกระดับให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทางได้อย่างปลอดภัย บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายของโครงสร้างทางยกระดับจากเหตุเพลิงไหม้บริเวณเสาตอม่อ พื้นยื่นหัวเสา และโครงสร้างคานอัดแรงรูปกล่อง โดยการดำเนินการตรวจสอบและประเมินระดับความเสียหายของโครงสร้างมีการสำรวจทางกายภาพเบื้องต้นด้วยวิธีการตรวจพินิจด้วยสายตา (Visual Inspection) และการสำรวจทางวิศวกรรมของโครงสร้างเชิงลึก ประกอบด้วย การตรวจสอบเปรียบเทียบกำลังอัดของคอนกรีตแบบไม่ทำลายโครงสร้าง (Non Destructive Test) การตรวจสอบการเสื่อมสภาพของคอนกรีต (ความเป็นกรด - ด่าง) การตรวจสอบความผุกร่อนของเหล็กเสริม และการตรวจสอบค่าแรงดึงของลวดอัดแรงที่อยู่ภายในคานรูปกล่อง เพื่อนำผลจากการตรวจสอบต่าง ๆ ที่ได้มาใช้ในการประเมินระดับความเสียหาย และวางแผนการซ่อมแซมโครงสร้างทางยกระดับให้มีความมั่นคงแข็งแรงต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 > >>