อิทธิพลของความเข้มข้นของโพลีเอทิลีนไกลคอลต่อกำลังอัดของคอนกรีต

  • ณัชพล บุญเรืองศรี ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
คำสำคัญ: คอนกรีต, พอลิเมอร์, โพลีเอทิลีนไกลคอล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดของคอนกรีตปรับปรุงด้วยโพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG) โดยใช้ความเข้มข้นของโพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG) ร้อยละ 2.5, 5, 7.5 และ 10 ค่ากำลังอัดของคอนกรีตควบคุมเท่ากับ 320 ksc ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง งานวิจัยนี้ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตปรับปรุงด้วยโพลีเอทิลีนไกลคอลที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ค่ายุบตัวเมื่อใส่สาร PEG จะได้ค่ายุบตัวเท่ากับ 3, 3, 5.5, 6 และ 12 เซนติเมตร และความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10%ตามลำดับ และหน่วยน้ำหนักคอนกรีตที่อายุ 28 วันและความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10% ของวัสดุ PEG มีค่าเท่ากับ 2446, 2448, 2363, 2405 และ 2328 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คอนกรีตที่อายุ 7 วัน และความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10% ของวัสดุ PEG มีค่าเท่ากับ 304, 254, 227, 211, 180 ksc ตามลำดับ และคอนกรีตที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 432, 321, 292, 212 และ 196 ksc ตามลำดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง