การพัฒนาการติดตามความปลอดภัยของเขื่อนด้วย เทคโนโลยีอนุกรมเวลา InSAR

  • ธนวัฒน์ บุณยะผลึก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์
  • สรวิศ สุภเวชย์
คำสำคัญ: กระบวนการแจ้งเตือน, การติดตามความปลอดภัยของเขื่อน, เทคโนโลยีอนุกรมเวลา InSAR

บทคัดย่อ

การติดตามความปลอดภัยของเขื่อนในประเทศไทยเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่มีการติดตามตรวจสอบอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเขื่อนและบริเวณโดยรอบที่อาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพของเขื่อนได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้ง ภายในและภายนอกรวมไปถึงลักษณะโครงสร้างของเขื่อนนั้น ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ และมีโอกาสเกิดการ พังทลายหรือการพิบัติของตัวเขื่อน (Dam Break) ได้เป็นต้น เพราะฉะนั้นการติดตามความปลอดภัยของเขื่อนเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิค การสำรวจที่มีความแม่นยำและมีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของเวลาและแรงงานในการสำรวจ เนื่องจากการเคลื่อนตัว นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จึงต้องใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลาจากดาวเทียม Sentinel-1 ตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 ถึงเดือน มกราคม 2565 มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (TSInSAR) โดยใช้พื้นที่ศึกษาคือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเขื่อน Earth Fill (Zoned Type) ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก มีความสูง 68 เมตร ความยาวสันเขื่อน 610 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร และสามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 295 ล้านลูกบาศก์เมตร จากผลการวิจัยพบว่าเขื่อนแม่กวงอุดมธารามีการทรุดตัวอย่างช้า ๆ ประมาณ -3 ถึง -5 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งอัตราการทรุดตัวนี้สามารถนำไปเป็นปัจจัยหนึ่งในการตรวจสอบร่วมกับเครื่องมือการสำรวจอื่น เพราะในอนาคตหากมีการตรวจพบการ เคลื่อนตัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจจะส่งผลให้เกิดการพิบัติของตัวเขื่อน (Dam Break) ได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำแบบจำลอง HEC-RAS 6.0 เข้ามาช่วยจำลอง ประมวลผลพื้นที่น้ำท่วมในรูปแบบ 3D เพื่อนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่ความเสียหายและพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วมเพื่อเตรียมทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน (EAP) และ พัฒนาเป็นกระบวนการแจ้งเตือน เพื่อเป็นเกณฑ์และแนวทางมาตรฐานในการดำเนินงานในขั้นตอนการปฏิบัติการต่อไปในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>