พฤติกรรมของอาคารสูงเดิมที่มีชั้นอ่อนภายใต้แผ่นดินไหวสำหรับกรุงเทพมหานคร

  • เสรี ระสโส๊ะ สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ประกิต ชมชื่น
คำสำคัญ: อาคารที่มีชั้นอ่อน, อาคารสูงเดิม, ผลตอบสนองของอาคารสูงเดิมภายใต้แผ่นดินไหว, การวิเคราะห์แบบประวัติเวลา

บทคัดย่อ

การพัฒนาของเทคโนโลยีและข้อจำกัดด้านพื้นที่ส่งผลให้อาคารสูงได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ ด้วยเงื่อนไขหลายประการส่งผลให้อาคารสูงจำนวนมากได้รับการออกแบบและก่อสร้างโดยมีชั้นอ่อน ชั้นอ่อนดังกล่าวส่งผลให้อาคารอ่อนแอต่อแผ่นดินไหว มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ที่ประกาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 (มยผ. 1301/1302-61) ได้กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาความสม่ำเสมอของสตีฟเนสของอาคารในแนวดิ่งไว้ ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าอาคารมีชั้นอ่อนหรือไม่ การวิเคราะห์ผลตอบสนองของอาคารที่มีชั้นอ่อนภายใต้แผ่นดินไหวต้องใช้วิธีการวิเคราะห์แบบประวัติเวลาเท่านั้น การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมภายใต้แรงแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ของอาคารสูงเดิมที่มีการออกแบบและก่อสร้างก่อนมีกฎหมายกำหนดให้คำนึงถึงผลของแผ่นดินไหวและมีชั้นอ่อน อาคารสูงที่เลือกศึกษาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีจำนวนชั้นทั้งหมด 34 ชั้น และความสูงทั้งหมด 129.60 เมตร เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ตามมาตรฐานแล้วพบว่าโครงสร้างชั้นที่ 7 ถือเป็นชั้นอ่อน รายละเอียดของผลการตอบสนองของอาคารวิเคราะห์ด้วยวิธีประวัติเวลาภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับกรุงเทพฯ ได้แสดงและอภิปรายในบทความนี้

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้