ศึกษาสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยาของรอยเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS400
คำสำคัญ:
กระบวนการเชื่อม, สมบัติทางกล, โครงสร้างทางโลหะวิทยา, รอยเชื่อม, เหล็กกล้าโครงสร้าง SS400บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยาของรอยเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS400 ด้วยกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กระบวนการเชื่อมแบบMIG/MAG และกระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์ ใช้เหล็กกล้าโครงสร้าง SS 400 เป็นชิ้นงานและเตรียมชิ้นงานตามมาตรฐาน AWS D1.1/D1.1M : 2006 ทำการทดสอบสมบัติทางกลและ ตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา ผลการวิจัยพบว่า เนื้อเชื่อมจากกระบวนการเชื่อมทั้ง 3 วิธีการ จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงที่แตกต่างกัน โดยกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงมากที่สุดที่ 680.86 MPa และจะให้ค่าความแข็งได้มากที่สุดที่ 198.3 HV ส่วนกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงได้น้อยสุด 565.02 MPa โดยมีค่าความแข็งน้อยสุดที่ 183.4 HV ผลสรุปกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์จะให้ผลของการเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS 400 ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกกระบวนการเชื่อมสำหรับการนำไปใช้งานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสม
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์