การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามล าดับชั้นและแบบจ าลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ในการคัดเลือก รูปแบบทางแยกต่างระดับบนทางหลวงแผ่นดิน: กรณีศึกษา แยกทางหลวงหมายเลข 12 ตัดทางหลวงชนบท มห. 4040

ผู้แต่ง

  • พชร ศรีสุโพธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • วุฒิไกร ไชยปัญหา
  • ปฏิภาณ แก้ววิเชียร
  • ธนพล พรหมรักษา

คำสำคัญ:

ทางแยกต่างระดับ, แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค, กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น

บทคัดย่อ

กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทหมายเลข มห. 4040 เพื่อเป็นถนนที่สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนและตัวเมืองมุกดาหาร แต่จากผลการวิเคราะห์ปริมาณการจราจรและระดับการให้บริการในอนาคตของทางแยกถนนโครงการ ตัดกับทางหลวงหมายเลข 12 ได้สะท้อนถึงโอกาสในการเกิดปัญหาการจราจรติดขัดในอนาคตหลังจากเปิดให้บริการ การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นร่วมกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ในการประเมินค่าตัวคูณและค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัยสำหรับใช้ในการตัดสินใจคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์จากการประมวลผลของแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคที่ถูกใช้เป็นคุณสมบัติในการกำหนดค่าตัวคูณของทุกปัจจัยรอง สามารถให้ผลการคำนวณค่าคะแนนทางเลือกที่สมเหตุสมผล โดยสรุปทางเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ รูปแบบทางเลือกที่ 3 การก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 12 ร่วมกับ วงเวียน (99.91 คะแนน) ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้พิจารณาตัดสินใจคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับสำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการศึกษาและออกแบบงานในอนาคตต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ศรีสุโพธิ์ พ., ไชยปัญหา ว. ., แก้ววิเชียร . ป. ., และ พรหมรักษา ธ. ., “การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามล าดับชั้นและแบบจ าลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ในการคัดเลือก รูปแบบทางแยกต่างระดับบนทางหลวงแผ่นดิน: กรณีศึกษา แยกทางหลวงหมายเลข 12 ตัดทางหลวงชนบท มห. 4040”, ncce27, ปี 27, น. TRL03–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์