การสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์สำหรับตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในโครงสร้างก่ออิฐ
คำสำคัญ:
การตรวจจับสิ่งแปลกปลอม, การสำรวจด้วยสัญญาคลื่นเรดาร์, โครงสร้างก่ออิฐ, ผลกระทบของความชื้นบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการจัดทำข้อมูลผลการประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์กับโครงสร้างก่ออิฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายผลการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในโครงสร้างก่ออิฐ การเตรียมตัวอย่างการทดสอบจะใช้อิฐก่อเรียงให้มีขนาด 0.90x0.90x0.30 เมตร การศึกษานี้ทำการทดลองกับสิ่งแปลกปลอมเป็นวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ลวดเหล็กตะแกรง ลวดตาข่ายกรงไก่ ท่อพีวีซี ท่อเหล็ก ท่อนไม้ และรวมถึงช่องว่างที่สร้างขึ้นและติดตั้งไว้ในตัวอย่างอิฐก่อทดสอบ การศึกษานี้จะนำเสนอการทดสอบทั้งในสภาพอิฐแห้ง และอิฐเปียก โดยการนำข้อมูลการสแกนจากการสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์ไปประมวลผลอย่างละเอียดผ่านซอฟแวร์ที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กทริกซึ่งเป็นสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ เพื่อบ่งบอกถึงสัญญาณคลื่นเรดาร์ของวัสดุจากการสแกนภาพ รวมถึงทำการตรวจสอบ และศึกษาผลกระทบของความชื้นจากการตรวจจับสัญญาณคลื่นเรดาร์ โดยทำการเปรียบเทียบสัญญาณคลื่นเรดาร์ของวัสดุที่เหมือนกันภายในอิฐก่อตัวอย่าง จากการทดสอบพบว่าค่าคงที่ไดอิเล็กทริกที่เหมาะสมสำหรับอิฐก่อในสภาวะแห้งจะมีค่าในช่วง 4.0 ส่วนค่าคงที่ไดอิเล็กทริกที่เหมาะสมสำหรับอิฐก่อในสภาวะเปียกจะมีค่าที่มากกว่า 12.0 ซึ่งผลของงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของไทยโดยใช้เป็นแนวทางในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในโครงสร้างอิฐโบราณ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์