ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดินสำหรับการติดตามและตรวจสอบสภาพสะพานพระราม 9

  • ชนาธิป บินซาอิส ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ, การติดตามและตรวจสอบสภาพ, เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดิน, สะพานขึง, สะพานพระราม 9

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์สำหรับการติดตามและตรวจสอบสภาพสะพานขึง กรณีศึกษาสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นหนึ่งในสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งกรุงเทพและธนบุรีที่ความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดยเปิดใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 การติดตามสภาพโครงสร้างและการตรวจสอบอย่างเหมาะสมเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญในการยืนยันเสถียรภาพของสะพานรวมทั้งความปลอดภัยของผู้ใช้งาน งานวิจัยนี้ใช้เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยเลเซอร์แบบภาคพื้นดินในการเก็บข้อมูลพิกัดสภาพพื้นผิวปัจจุบันของสะพานพระราม 9 และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและสร้างเป็นแบบจำลองสภาพปัจจุบันในรูปแบบของข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติของสะพานพระราม 9 จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินขนาดมิติ ค่าระดับ ความชัน ภาพตัดของสะพานพระราม 9 โดยในท้ายที่สุดจะแสดงศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุด้วยแสงเลเซอร์ในการวัดเส้นโค้งหย่อนตัวของเคเบิลเป็นประเด็นสำคัญ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>