การทดสอบโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ออกแบบรับแรงแผ่นดินไหวร่วมกับผนังอิฐก่อ
คำสำคัญ:
การออกแบบโครงอาคาร, ผนังอิฐก่อ, การทดสอบภายใต้แรงสลับทิศ, โครงต้านแรงดัด, การออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวบทคัดย่อ
อาคารที่มีผนังอิฐก่อเป็นที่นิยมใช้กันในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทย ผนังอิฐก่อนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านกำลังและความแข็งแรงด้านข้างให้กับโครงอาคาร แต่อย่างไรก็ตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างผนังอิฐก่อและโครงอาคารนั้นอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในรูปแบบการวิบัติจากการเฉือนที่เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นรูปแบบความเสียหายที่ทำให้โครงอาคารสูญเสียเสถียรภาพทั้งการรับแรงในแนวดิ่งและด้านข้าง งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบความเหนียวจำกัด (Intermediate RC Moment Frame) ที่ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายจากแรงเฉือนที่เสาที่จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผนังอิฐก่อและโครงอาคาร ในงานวิจัยได้ทำการทดสอบโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเท่าอาคารจริงในห้องปฏิบัติการ ภายใต้แรงสลับทิศและแรงในแนวดิ่ง จากผลการทดสอบพบว่าวิธีการออกแบบที่ใช้ สามารถป้องกันความเสียหายที่เสา และพบแต่รอยแตกร้าวเฉพาะในแนวนอนที่บริเวณปลายของเสาทั้งสองต้น ซึ่งเป็นลักษณะความเสียหายที่เกิดจากแรงดัด ทำให้โครงอาคารนี้เป็นโครงอาคารที่มีความเหนียวและเป็นไปตามพฤติกรรมการออกแบบโครงอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์