ข้อมูลการสแกน 3 มิติและวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับการศึกษาผลกระทบของแรงแผ่นดินไหวต่อเจดีย์ทรงระฆังของไทย กรณีศึกษาวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว, การสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์, เจดีย์ทรงระฆัง, เจดีย์ทางประวัติศาสตร์ของไทย, วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์บทคัดย่อ
เจดีย์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสุโขทัยถูกสร้างมาเป็นเวลากว่า 500 ปี แม้ว่าประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่รับแรงแผ่นดินไหวระดับต่ำถึงปานกลาง แต่จังหวัดสุโขทัยอยู่ในเขตพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวสูงอันเนื่องมาจากรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ด้วยเหตุนี้โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของไทยในจังหวัดสุโขทัยจึงมีโอกาสได้รับผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหว งานวิจัยนี้นำเสนอผลกระทบของแรงแผ่นดินไหวที่มีต่อเจดีย์ทรงระฆังของไทยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่รับแรงแผ่นดินไหวในจังหวัดสุโขทัย โดยอาศัยเจดีย์ทรงระฆังวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยารามเป็นกรณีศึกษา การเก็บข้อมูลกลุ่มจุดของเจดีย์จะใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดิน จากนั้นทำการสร้างแบบจำลองสมมติฐานอย่างง่ายของเจดีย์จากข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ แล้วนำมาวิเคราะห์สภาพตำแหน่งปัจจุบันรวมถึงความเอียงที่ตำแหน่งยอดของเจดีย์ การวิเคราะห์โครงสร้างจะอาศัยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ จากการวิเคราะห์ผลทางสถิตยศาสตร์และการวิเคราะห์การสั่นอิสระจะทำให้ได้ภาพลักษณะการกระจายความเค้น การเคลื่อนตัว ค่าความถี่ธรรมชาติ และรูปร่างการสั่นอิสระที่สอดคล้องกับค่าความถี่ธรรมชาติของเจดีย์ สำหรับการหาผลตอบสนองของเจดีย์จะใช้การเคลื่อนตัวของพื้นดินอย่างน้อยสามรูปแบบที่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน มยผ. 1302
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์