ความสามารถทำงานได้และกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง ผสมปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมัน

ผู้แต่ง

  • ปัทมาวดี แก้วระวัง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ทศพร ศรีคำมา
  • ธนากร ภูเงินขำ

คำสำคัญ:

จีโอโพลิเมอร์, เถ้าลอย, เถ้าปาล์มน้ำมัน, ปูนซีเมนต์, ความสามารถทำงานได้, กำลังอัด

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาความสามารถทำงานได้และกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมัน โดยการแทนที่ปูนอินทรีทองในเถ้าลอยร้อยละ 0, 20 และ 20 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันในเถ้าลอยร้อยละ 0, 0 และ 40 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และใช้สารกันซึมเป็นสารผสมเพิ่มในอัตราส่วนร้อยละ 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน การศึกษาใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10 โมลาร์ เป็นสารละลายด่างในการทำปฏิกิริยา โดยใช้อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 อัตราส่วนของทรายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.5 และ 1.0 และบ่มที่อุณหภูมิห้องทุกอัตราส่วนผสมผลการทดสอบพบว่าปริมาณการแทนที่ปูนอินทรีทองที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันในเถ้าลอยทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของจีโอโพลิเอมร์เพิ่มขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง

[1]
แก้วระวัง ป. และคณะ 2020. ความสามารถทำงานได้และกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง ผสมปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมัน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), MAT30.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##