การศึกษาเบื้องต้นของผงอัลคาไล
คำสำคัญ:
ผงอัลคาไล, จีโอโพลิเมอร์, เถ้าลอย, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, ซิลิกาฟูม, กำลังรับแรงอัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาวัสดุอัลคาไลผงเพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในงานก่อสร้าง วัสดุตั้งต้นในการผลิตวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ประกอบด้วยเถ้าลอยและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยมีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในเถ้าลอยร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 10 โมลาร์ และสารละลายโซเดียมซิลิเกตเป็นสารละลายอัลคาไลกระตุ้น ศึกษาอัตราส่วนสารละลายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.4 และ 0.5 อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 และ 2.0 ในแต่ละส่วนผสมและบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 25 และ 60 องศาเซลเซียส นำวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ที่เตรียมได้มาบดและเรียกว่าวัสดุอัลคาไลผงเพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในงานวัสดุก่อสร้าง สำหรับวัสดุเชื่อมประสานในงานก่อสร้างประกอบด้วยวัสดุอัลคาไลผง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และซิลิกาฟูม โดยมีการแทนที่วัสดุอัลคาไลผงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และซิลิกาฟูมที่ร้อยละ 40 และ 10 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ตามลำดับ ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 โมลาร์กับน้ำโดยกำหนดให้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 ในทุกส่วนผสมและบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิห้อง
จากผลการศึกษาค่ากำลังอัดของของวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในวัสดุประสาน และผลการศึกษาค่าระยะเวลาก่อตัวของวัสดุอัลคาไลผง พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ ส่งผลทำให้วัสดุอัลคาไลผงมีการก่อตัวที่รวดเร็ว และเมื่อเพิ่มอุณหภูมิการบ่มของวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้วัสดุอัลคาไลผงมีการก่อตัวที่ต่ำลง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเป็นข้อมูลในการพัฒนาวัสดุอัลคาไลผงในงานวัสดุก่อสร้างต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์