การประมวลผลและการติดตามภัยแล้งระหว่างฤดูปลูกพืชเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ค่าผิดปกติ ผลต่างดัชนีพืชพรรณ
คำสำคัญ:
ภัยแล้ง, การติดตามภัยแล้ง, ค่าผิดปกติของดัชนีพืชพรรณบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการ แนวทาง และเครื่องมือในการวิเคราะห์ติดตามผลกระทบของภัยแล้งในระหว่างฤดู (in-season) ปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลเส้นฐานค่าผลต่างดัชนีพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index, NDVI) ที่จัดทำขึ้นจากข้อมูล NDVI รายสัปดาห์จากระบบประมวลผลเพื่อการหาพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งแบบอัตโนมัติ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2561 ในรูปแบบของเส้นฐาน NDVI รายสัปดาห์รายจุดภาพ เพื่อประเมินค่าผิดปกติ (anomaly) ของปีแล้ง 2562 (แล้งสูงสุดในรอบ 50 ปี) และทำการวิเคราะห์ผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมรายจังหวัดตามสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงแสดงข้อมูลเชิงปริมาณและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรายจุดภาพ (ขนาด 1x1 ตารางกิโลเมตร) พร้อมทั้งเสนอแนวทางการติดตามผลกระทบในฤดูปลูกพืชเศรษฐกิจปี 2563 (กรณีศึกษาพืชอ้อยสำหรับผลิตน้ำตาล) โดยได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับติดตามประมวลผลข้อมูลจากระบบบริการข้อมูลสำหรับนักวิจัยของประเทศสามารถนำไปใช้งาน รายละเอียดของเครื่องมือและวิธีการใช้งานได้อธิบายไว้แล้ว ในส่วนเนื้อหา และส่วนสรุปผลของงานวิจัยนี้ ค่าผิดปกติของดัชนีพืชพรรณมีผลต่างติดลบสามารถอนุมานได้ว่าบริเวณที่ปรากฏพืชที่ไม่สมบูรณ์หรือพืชลดลง คือบริเวณที่กำลังประสบภัยแล้ง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์