การวิเคราะห์อัตราการทรุดตัวของชั้นดินของกรุงเทพมหานครด้วยข้อมูล InSAR
บทคัดย่อ
การสำรวจรังวัดระดับการทรุดตัวของแผ่นดินบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2521 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับดิน รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการยุบตัว การอัดตัวและติดตามการรังวัดหาระดับความสูงจากหมุดหลักฐานในระยะเวลาต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยกรมแผนที่ทหาร ในการสำรวจระดับชั้นที่ 1 โดยใช้วิธีการเดินระดับเครือข่ายหมุดหลักฐานในแต่ละปี ซึ่งสถานีวัดการยุบตัวหรือการอัดตัวของชั้นดินในระดับความลึกต่าง ๆ จะตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหมุดหลักฐาน โดยข้อมูลจากการสำรวจเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณปริมาณการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง เพื่อแสดงค่าการทรุดตัวโดยรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ แต่ความหนาแน่นของตำแหน่งหมุดหลักฐานเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังมีความหนาแน่นไม่มากพอที่จะนำมาใช้แสดงถึงการทรุดตัวเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับลักษณะของชั้นดินที่อยู่ใต้ดิน งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีอนุกรมเวลาจากอินซาร์ (Time-Series InSAR) ซึ่งสามารถตรวจวัดอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินที่มีความหนาแน่นของจุดสำรวจเพียงพอต่อการแสดงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้และยังได้เสนอวิธีการคำนวณเพื่อประมาณอัตราการทรุดตัวของแต่ละชั้นดินในระดับที่ลึกลงไป โดยวิธีการจำแนกอัตราการเคลื่อนตัวของชั้นดินจากการสกัดข้อมูล Time-Series InSAR แล้วแบ่งข้อมูลตามชนิดของความลึกฐานรากของอาคาร ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นแบ่งระดับความลึกของฐานรากออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ความลึก 20 40 และ 80 เมตร ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาที่ช่วงระดับความลึก 20 เมตร ถึง 40 เมตร ได้ผลอัตราการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งจากการศึกษาด้วยข้อมูลจากเทคนิคTime-Series InSAR เป็น 0.350 มิลลิเมตรต่อปี
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์