การสำรวจผลกระทบพายุปาบึก ในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง ระบบหาด E5-RYG
คำสำคัญ:
คลื่นพายุซัดฝั่ง, ชายฝั่ง, กัดเซาะ, GNSS, RTKบทคัดย่อ
แนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยความยาวประมาณ 3,151 กม. ซึ่งจากข้อมูลรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2560 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประมาณ 145.73 กม. การแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลชายฝั่งที่ชัดเจน เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ งานวิจัยนี้จึงได้มีการสำรวจรังวัด จัดทำเส้นแนวชายฝั่ง และภาพตัดขวางชายหาด เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งในแต่ละช่วงฤดูกาล โดยใช้การรังวัดระบบเครือข่ายดาวเทียมแบบจลน์ (RTK) ด้วยการหาค่าโดยระบบดาวเทียม (GNSS) ในพื้นที่ระบบหาด E5-RYG (มาบตาพุด-แม่รำพึง,ก้นอ่าว) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ง เปรียบเทียบเส้นแนวชายฝั่งระหว่าง 2 ช่วง จากช่วงก่อนและหลัง พายุปาบึก จากผลการศึกษาพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งสะสมตัว 0.005 ตร.กม. และมีพื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง 0.048 ตร.กม. จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ควรมีการเฝ้าระวัง และติดตามสถานภาพชายฝั่งในระยะยาว เพื่อวางแผน และมาตรการในการรองรับภัยพิบัติในอนาคต
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์