การศึกษาการจัดการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ กรณีก่อสร้างหรือซ่อมบำรุง

ผู้แต่ง

  • ปิยภัค มหาโพธิ์ กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

การจัดการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ระยะเบี่ยงการจราจร, FDOT

บทคัดย่อ

การดำเนินการก่อสร้าง หรือซ่อมบำรุงรักษาทางพิเศษจะส่งผลกระทบต่อการใช้บริการและความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง หรือแม้แต่ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องมีการจัดการจราจรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางและผู้ปฏิบัติงาน การจัดการจราจรกรณีก่อสร้างหรือซ่อมบำรุงบริเวณด่านฯ และบนทางพิเศษนั้นมีความแตกต่างกัน โดยในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบการจัดการจราจรบริเวณด่านฯ ที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการจัดการจราจรที่ปลอดภัยกับการปฏิบัติงานบริเวณด่านฯ โดยทำการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความเร็วรถขณะขับผ่านด่านฯ ที่มีลักษณะทางกายภาพของด่านฯ ที่แตกต่างกัน นำความเร็วรถที่ได้คำนวณเพื่อหาระยะเบี่ยงที่ปลอดภัย แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกับระยะการเบี่ยงการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษตามมาตรฐานของ FDOT (Florida Department of Transportation) Design Standard, (2013) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการเก็บข้อมูลความเร็วเฉลี่ยบริเวณด่านฯ อยู่ที่ 35 - 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คำนวณหาระยะเบี่ยงการจราจรได้เท่ากับ 20 - 70 เมตร ซึ่งคล้ายคลึงกับการจัดการจราจรตามมาตรฐานของ FDOT จากข้อมูลที่ได้สามารถกำหนดรูปแบบการจัดการจราจรที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางและผู้ปฏิบัติงานมากที่สุดคือการแบ่งพื้นที่จัดการจราจรบริเวณด่านฯ ออกเป็น 3 กรณี คือ 1) กรณีปฏิบัติงานบริเวณหน้าด่านฯ 2) การปฏิบัติงานบริเวณด่านฯ และ 3) การปฏิบัติงานบริเวณหลังด่านฯ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##