ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติ และสมบัติวัสดุก่อของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ผู้แต่ง

  • ศิวนนท์ ต้นเกตุ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
  • พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ณัฐนันท์ วงศ์อนันต์
  • ชนาธิป บินซาอิส ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุรพัศ นิธิปฏิคม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ, เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์, ฐานข้อมูลดิจิทัล, วัดราชบพิธฯ, วัสดุก่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ในการจัดทำข้อมูลกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร การศึกษานี้ใช้เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติแบบภาคพื้นดินเก็บข้อมูล 3 มิติของบริเวณวัด โดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและพัฒนาเป็นแบบจำลองกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ผ่านโปรแกรม Scene จากนั้นนำแบบจำลอง 3 มิติที่ได้มาดำเนินการประเมินขนาดของพระเจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร และบริเวณโดยรอบภายในวัด ด้วยโปรแกรมเฉพาะทาง Autodesk Recap และ Autodesk Revit นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างวัสดุก่อจากโครงการบูรณะวัดราชบพิธครั้งใหญ่มาศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยการศึกษานี้จะนำเสนอสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุก่อที่สำคัญได้แก่ ความหนาแน่น ความพรุน การดูดซึมน้ำ และกำลังรับแรงอัด โดยข้อมูลกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติพร้อมทั้งข้อมูลด้านสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุก่อที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการติดตามสภาพโครงสร้างและประกอบการบำรุงรักษาในระยะยาวได้ต่อไปในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##