สมบัติทางกลของอิฐทดแทนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย

  • สุนัย โตศิริมงคล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: โบราณสถานของไทย, สมบัติทางกล, อนุรักษ์, อิฐก่อในรูปแบบ, อิฐทดแทน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมบัติทางกลของอิฐทดแทนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย โดยทำการทดสอบสมบัติทางกลของอิฐในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กำลังวัสดุ ความหนาแน่น และ ความพรุน โดยนำเสนอผลการทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐทั้งในรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบและอิฐรูปแบบลูกบาศก์ และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงอัดของอิฐและความหนาแน่นของอิฐทั้งในรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบและรูปแบบลูกบาศก์ นอกจากนี้ทำการประเมินผลของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของอิฐต่อกำลังรับแรงอัดของอิฐ รวมถึงทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดของกลุ่มอิฐก่อในรูปแบบปริซึมโดยทำการเปรียบเทียบกับกำลังรับแรงอัดของอิฐก้อนเดี่ยว จากการทดสอบพบว่า อิฐทดแทนมีความหนาแน่นแห้งอยู่ในช่วง 1.28 ก./ซม.3 - 1.63 ก./ซม.3 มีความพรุนอยู่ในช่วง 30.15 % - 35.14 % และค่ากำลังรับแรงอัดของอิฐทดแทนรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบมีค่าสูงกว่ารูปแบบลูกบาศก์ กำลังรับแรงอัดกับความหนาแน่นมีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งท้ายสุดทำให้สามารถหาสมการสำหรับประมาณค่ากำลังรับแรงอัดของกลุ่มอิฐก่อในรูปแบบปริซึมได้ในรูปของค่าความหนาแน่นและกำลังรับแรงอัดของอิฐก้อนเดี่ยว

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07
How to Cite
[1]
โตศิริมงคลส., มหาสุวรรณชัยพ., ตั้งจิรภัทรว., ลีลาทวีวัฒน์ส. และ อธิสกุลช. 2020. สมบัติทางกลของอิฐทดแทนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), MAT03.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>