การประเมินกำลังและการหดตัวของคอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทําจากมวลรวมรีไซเคิลและใช้ เถ้าก้นเตาร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียดเป็นวัสดุประสาน
คำสำคัญ:
เถ้าก้นเตา, กากแคลเซียมคาร์ไบด์, มวลรวมหยาบจากการย่อยเศษคอนกรีต, โซเดียมไฮดรอกไซด์, กำลังอัด, การหดตัวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวของคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียด (GBA) ร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด (GCR) เป็นวัสดุประสานในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหนัก และใช้มวลรวมหยาบจากการย่อยเศษคอนกรีตแทนที่มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ปูนซีเมนต์และหินย่อยจากธรรมชาติ และใช้สารละลายด่างเป็นตัวเร่งปฎิกิริยา คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในอัตราร้อยละ 0, 0.5, 1 และ 3 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.30 และปริมาณวัสดุประสานเท่ากับ 550 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ผลการทดสอบพบว่าคอนกรีตที่ทำจากวัสดุประสานที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด (CBN) มีการพัฒนากำลังอัดที่ช้ากว่าคอนกรีตทั่วไปที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสาน แต่เมื่อใช้สารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา คอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราร้อยละ 1 (CB1N) มีกำลังอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 34.8 เมกะปาสคาล ซึ่งใกล้เคียงกับคอนกรีต CT ที่ทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปริมาณปูนซีเมนต์ 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และใช้มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ นอกจากนี้คอนกรีตที่ทำจากวัสดุประสานที่ได้จากเถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด และใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตส่งผลให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีต CT การใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียดเป็นวัสดุประสานสามารถลดการหดตัวของคอนกรีตได้เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีต CT
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์