การประเมินผลมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ กรณีศึกษาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอโศก 3 และ อโศก 4
คำสำคัญ:
การประเมินผลกระทบการจราจร, ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาคบทคัดย่อ
ปริมาณผู้ใช้ทางพิเศษมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็นก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด มาตรการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษให้มีความสามารถในการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น สามารถทำได้โดยการพัฒนาจากระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (ETC) ปรับเปลี่ยนเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติกรณียกเลิกไม้กั้น (Nonstop Lane; NSL) และการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษสำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) แต่การเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินจำเป็นต้องทราบว่าควรเพิ่มจำนวนเท่าไรจึงเหมาะสม การศึกษานี้จึงประเมินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด่านฯ อโศก 3 และ อโศก 4 โดยการพัฒนาแบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN เพื่อประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรต่างๆ ของแต่ละมาตรการ พบว่า มาตรการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่อง MTC จำนวน 10 คนต่อช่องทางร่วมกับมาตรการยกเลิกการใช้ไม้กั้น NSL สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับด่านฯ อโศก 3 ในชั่วโมงเร่งด่วนเย็น ทำให้ปริมาณจราจรบริเวณหน้าด่านฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.52% และมาตรการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่อง MTC จำนวน 5 คนต่อช่องทางร่วมกับมาตรการยกเลิกการใช้ไม้กั้น NSL สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับด่านฯ อโศก 4 ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า ทำให้ปริมาณจราจรบริเวณหน้าด่านฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 12.73% ภายหลังนำมาตรการไปดำเนินงานบริเวณด่านฯ อโศก 3 และ อโศก 4 พบว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริเวณหน้าด่านฯ ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์