การพัฒนาแบบจำลองอุปสงค์และการจราจรของลิฟต์โดยสาร ในบริบทโลจิสติกส์โรงพยาบาล
คำสำคัญ:
ลิฟต์โดยสาร, โลจิสติกส์โรงพยาบาล, การวิเคราะห์การจราจรของลิฟต์, พฤติกรรมการเดินทาง, แบบจำลองอุปสงค์การเดินทางบทคัดย่อ
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ กอปรกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติปัญหาความแออัดและการจัดการโลจิสติกส์โรงพยาบาลจากปริมาณผู้ป่วยและผู้ใช้บริการสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาล งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางบรรเทาปัญหาโลจิสติกส์โรงพยาบาล มุ่งเน้นการสัญจรภายในอาคารโรงพยาบาลด้วยลิฟต์โดยสาร โดยได้พัฒนาแบบจำลองการจราจรของลิฟต์โดยสารด้วยโปรแกรม ARENA ภายใต้ทฤษฎีแถวคอยและการจําลองสถานการณ์ อาศัยข้อมูลสำรวจผู้ใช้บริการลิฟต์โดยสารจำนวน 6 ตัว ของอาคารศรีพัฒน์ ขนาด 15 ชั้น ภายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจำลองรูปแบบการให้บริการ 3 รูปแบบ คือ แบบอิสระให้ลิฟต์จอดได้ทุกชั้น แบบแบ่งตามชั้นเลขคู่และเลขคี่ และแบบแบ่งตามระดับความสูงของชั้น พบว่า การจัดสรรลิฟต์แบบแบ่งตามระดับความสูงชั้น เป็นรูปแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการใหบริการดีที่สุด โดยรองรับผู้ใช้บริการในระบบได้สูงถึง 338 คน/นาที ใช้ระยะเวลาในแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด (1.85 นาที) และระยะเวลาในระบบเฉลี่ยน้อยที่สุด (5.94 นาที)
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
Ahn, Y., Kowada, T., Tsukaguchi, H. and Vandebone, U. (2017) Estimation of Passenger Flow for Planning and Management of Railway Stations, Transportation Research Procedia, vol.25, pp.315-330.
Berner, G. (2003). Elevator Traffic Handbook: Theory and Practice. New York: Taylor & Francis Routledge
Horejsi, J., Horejsi, P. and Latif, M. (2011). Strategies for an elevator dispatcher system, MM Science Journal, July 2011, pp 234-238
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์