การวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ดนุลดา เนียมทอง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • อนุเผ่า อบแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วม, การวิเคราะห์ความเสี่ยง, แผนที่พื้นที่น้ำท่วม

บทคัดย่อ

น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดจากหลายปัจจัย สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยหลายด้านเช่น การดำรงชีวิต สภาพสิ่งแวดและเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วม ในการวิจัยใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับขั้นรูปแบบวิธี AHP (The Analytical Hierarchy Process) ด้วยเทคนิควิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (QGIS) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดทำแผนที่พื้นที่น้ำท่วมสำหรับการจัดการและบรรเทาอุทกภัยโดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM), ความลาดชัน, ปริมาณน้ำฝน, พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก และการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากนั้นได้ทำการคัดเลือกค่าน้ำหนักปัจจัยที่ส่ง ผลกระทบต่อน้ำท่วมและดำเนินการจัดประเภทใหม่ โดยสามารถแสดงข้อมูลคำนวณออกมาเป็นแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วมของพื้นที่วิจัย การจำแนกความเสี่ยงเป็นความเสี่ยงอันตรายสูงสุด ความเสี่ยงอันตรายสูง ความเสี่ยงอันตราย เฝ้าระวัง และปกติ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมพบว่าพื้นอยู่ในเกณฑ์สถานการณ์อยู่ในสภาวะความเสี่ยงอันตรายประมาณ 1,842.72 ตร.กม. คิดเป็น 45.71% ของพื้นที่ สภาวะเฝ้าระวังประมาณ 1,474.59 ตร.กม. คิดเป็น 36.58% ของพื้นที่ สภาวะความเสี่ยงอันตรายสูงประมาณ 458.89 ตร.กม. คิดเป็น 11.38% ของพื้นที่ สภาวะปกติ 132.23 ตร.กม. คิดเป็น 3.28% ของพื้นที่ และสภาวะความเสี่ยงอันตรายสูงสุดประมาณ 122.47 ตร.กม. คิดเป็น 3.04% ของพื้นที่ ซึ่งการตรวจสอบความถูกต้องโดยรวมของข้อมูลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของพื้นที่ เท่ากับ 77.6% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.68 ดังนั้นความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ระดับดี

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

อนุเผ่า อบแพทย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

เนียมทอง ด., & อบแพทย์ อ. (2023). การวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI10–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2228

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##