การใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดในการประมวลผลข้อมูลเรดาร์ทะลุผิวดิน: กรณีศึกษาสาธารณูปโภคใต้ผิวทาง

ผู้แต่ง

  • อนุเผ่า อบแพทย์
  • สุชาญพงศ์ อบน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สาริษฐ์ สามคุ้มพิมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสำรวจด้วยเรดาร์ทะลุผิวดิน, ค่าการนำไฟฟ้า, ค่าคงที่ไดอิเล็กทริก, Rstudio, Reflex2DQuick

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่นำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการสำรวจธรณีวิทยาใต้ดินด้วยเรดาร์ทะลุผิวดิน หรือ Ground Penetrating Radar (GPR) มักเป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการทดสอบซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source software) ในการประมวลผลข้อมูล GPR โดยผู้วิจัยได้ใช้ซอฟต์แวร์ Rstudio และ Reflex2DQuick ในการศึกษาลักษณะของสัญญาณที่ได้จากเครื่องมือสำรวจธรณีวิทยาใต้ดินด้วย GPR โดยใช้ข้อมูลสำรวจบนถนนสายโรจนะในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและถนนสาย 7 พัทยา-มาบตาพุด เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ. 2565 เป็นกรณีศึกษา โดยอ้างอิงจากค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า และ ค่าคงที่ไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความมีขั้ว (Polarity) ของวัสดุที่อุณหภูมิใด ๆ เพื่อจัดกลุ่มของชั้นข้อมูลเป็น 2 ประเภท ได้แก่บริเวณที่พบวัตถุที่เป็นอโลหะ (Non-Metallic Pipe) และบริเวณที่พบวัตถุที่เป็นโลหะ (Metallic Pipe) เพื่อให้ทราบว่าวัตถุนั้นเป็นวัตถุชนิดใด โดยผลลัพธ์ที่จะได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปแบบของกราฟเส้นโค้งไฮเพอร์โบลาที่สามารถบ่งบอกลักษณะของวัตถุที่ GPR ตรวจพบ เช่น ท่อคอนกรีต ท่อโลหะ หรือกำแพงโบราณที่ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source software) ที่นำมาใช้งานนั้นสามารถปรับแต่งคลื่นสัญญาณและยังสามารถขจัดคลื่นรบกวนที่ปะปนมากับสัญญาณ ทำให้ผู้สำรวจสามารถระบุชนิดของ สาธารณูปโภคใต้ผิวทางได้อย่างถูกต้องและแม่นยำโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทางด้านซอฟท์แวร์

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

สาริษฐ์ สามคุ้มพิมพ์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เบอร์ 091-739-2737

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

อบแพทย์ อ. ., อบน้ำ ส., & สามคุ้มพิมพ์ ส. (2023). การใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดในการประมวลผลข้อมูลเรดาร์ทะลุผิวดิน: กรณีศึกษาสาธารณูปโภคใต้ผิวทาง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI15–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2349

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##