การติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยี InSAR : กรณีศึกษาอ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

  • ชญาภา เลาหะอุดมโชค ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร
  • สรวิศ สุภเวชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: การติดตามการเคลื่อนตัว, เทคนิคอนุกรมเวลา InSAR, โครงสร้างพื้นฐาน

บทคัดย่อ

ปัญหาการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย หากไม่ได้รับการติดตามหรือตรวจสอบจะส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเรดาร์อินเตอร์เฟอโรเมตรีจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับการติดตามและตรวจสอบโครงสร้างที่สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้มากขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรบุคคล ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงในระยะยาว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลลัพธ์จากการติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยี InSAR ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 ในแนวการโคจรของดาวเทียมทั้งขาขึ้น (Ascending) และขาลง (Descending) จำนวนอย่างละ 34 ภาพ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนมกราคม 2566 มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (TSInSAR) พื้นที่ศึกษาคือ อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา จากผลลัพธ์ที่ได้พบค่าการเคลื่อนตัวของโครงสร้างประมาณ -04.69 ถึง +05.62 มิลลิเมตรต่อปี ในแนวการโคจรแบบขาขึ้น ขณะที่ค่าการเคลื่อนตัวในแนวการโคจรแบบขาลง ประมาณ -03.84 ถึง +05.84 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งค่าการเคลื่อนตัวของโครงสร้างที่แตกต่างกันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ การวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลในแนวการโคจรของดาวเทียมแบบขาขึ้นหรือแบบขาลงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงสามารถเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์บริเวณพื้นที่ที่มีการทรุดตัวโดยการใช้ข้อมูลในแนวการโคจรแบบขาขึ้นและแบบขาลงร่วมกัน นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ในงานวิจัยสามารถนำไปใช้ร่วมกับเทคนิคทางวิศวกรรมและสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำมากขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

ชญาภา เลาหะอุดมโชค, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุเผ่า อบแพทย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

สรวิศ สุภเวชย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

เผยแพร่แล้ว
2023-07-09