การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยเทคนิค InSAR เพื่อการตรวจสอบ การทรุดตัวของจังหวัดนครสวรรค์

  • จุฬพัฒน์ บุญสุยา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรวิศ สุภเวชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: การทรุดตัวของแผ่นดิน, นครสวรรค์, อนุกรมเวลาอินซาร์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการทรุดตัวของแผ่นดินเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนประชาชน โครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคม รวมถึงระบบน้ำใต้ดินในอนาคตได้ โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อการตรวจวัดหาอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (Time-Series Interferometric Synthetic Aperture Radar, TSInSAR) ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่สามารถวัดระยะทางและติดตามการเปลี่ยนแปลงความสูงบนพื้นผิวโลกได้ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อติดตามการทรุดตัวของแผ่นดิน การเฝ้าระวังและตรวจสอบสภาพโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติของภาพถ่ายจากดาวเทียมนั้น จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายการสำรวจรังวัดและช่วยประหยัดงบประมาณและแรงงานได้ และได้ใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลาจากดาวเทียม Sentinel–1 จำนวน 34 ภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดยการสร้าง Interferogram ด้วยโปรแกรม SNAP และโปรแกรม MATLAB เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินโดยรอบที่ข้อมูลได้ครอบคลุมถึง รวมถึงจุดตรวจสอบที่โปรแกรมได้ประมวลผลออกมา เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์และประเมินผลพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการทรุดตัวได้ และสามารถที่จะดำเนินการในขั้นตอนการปฏิบัติการต่อไปได้ จากผลลัพธ์ที่ได้ โดยได้ตรวจสอบพบการเคลื่อนตัวประมาณ -5.2 มิลลิเมตรต่อปี ถึง 4.4 มิลลิเมตรต่อปี แสดงให้เห็นว่าการทรุดตัวของจังหวัดนครสวรรค์ เกิดการเคลื่อนตัวอยู่มากในบางพื้นที่ ได้แก่ บริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน และบริเวณที่มีการใช้น้ำบาดาลที่มาก เช่น บริเวณอำเภอโกรกพระ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอเก้าเลี้ยว จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการของใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาอินซาร์มาประยุกต์ใช้ในการติดตามการทรุดตัวที่เกิดขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

จุฬพัฒน์ บุญสุยา, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุเผ่า อบแพทย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

สรวิศ สุภเวชย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพมหานคร

เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้