การประเมินสถานะของการเก็บเกี่ยวแปลงอ้อย จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล Sentinel-1 SAR
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมระบบ SAR (Synthetic Aperture Radar) มาประยุกต์ใช้ในการติดตามสถานะของแปลงอ้อยว่ามีการเก็บเกี่ยวแล้วหรือไม่ ในช่วงของฤดูการปิดหีบของโรงงานอ้อยในจังหวัดขอนแก่น โดยมีการใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม L1 Ground Range Detection (GED) Polarization VV จากดาวเทียม Sentinel-1 ช่วงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 กับ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (Path 164 Frame 538/ Path 164 Frame 533) และข้อมูลแปลงอ้อยที่ผ่านการสำรวจสถานะการเก็บเกี่ยวจากภาคสนามในช่วงเดือน เมษายน 2564 จำนวน 14,971 แปลง เพื่อนำมาใช้ในการหาแนวโน้มค่าการสะท้อนกลับ (Backscatter) ที่เหมาะสมในการที่จะประเมินสถานะของแปลงอ้อย พบว่าช่วงค่าการสะท้อนกลับกลับที่ -7.000 ถึง -12.999 dB เป็นค่าที่มีแนวโน้มแสดงถึงแปลงอ้อยที่ผ่านการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการนำข้อมูลการสะท้อนกลับไปเปรียบเทียบกับแปลงที่ได้รับการสำรวจมาจากภาคสนาม ของวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีผลลัพธ์ความถูกต้องอยู่ที่ 83.017เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความถูกต้องใกล้เคียงกับระบบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบ Optical มีผลลัพธ์ความถูกต้องอยู่ที่ 83.135 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถใช้ระบบ SAR ในการตรวจสอบการเก็บเกี่ยวได้เช่นกัน
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.