ข้อมูลธรณีเทคนิคของแอ่งเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับ การวิเคราะห์การเหลวตัวของดิน

ผู้แต่ง

  • ธนพร สิทธิกรวนิช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีรยุทธ โกมลวิลาศ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.กรุงเทพมหานคร
  • วีรเดช ธนพลังกร
  • สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง

คำสำคัญ:

เเอ่งเมืองเชียงใหม่, ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์, วิธีการประมาณค่า, การเหลวตัวของดิน, เเผนที่เสี่ยงภัยต่อการเหลวตัวของดิน

บทคัดย่อ

แอ่งเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของตัวเมืองเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งแผ่นดินไหวอาจส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์การเหลวตัวของดินได้ เนื่องจากชั้นดินของแอ่งเมืองเชียงใหม่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวตะกอนทราย ที่เกิดจากการทับถมกันของดินเหนียว ดินทราย และตะกอนตามการพัดพาของน้ำ งานวิจัยนี้จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคประกอบไปด้วย ข้อมูลหลุมเจาะสํารวจดิน ข้อมูลระดับน้ำใต้ดิน ข้อมูลค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดิน ข้อมูลค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดิน และแผนที่ธรณีวิทยาแสดงชั้นตะกอน จากนั้นทำการนำข้อมูลเข้าสู่วิธีการประมาณค่าที่ประกอบไปด้วยวิธีการระยะทางผกผัน วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด วิธีการเพื่อนบ้านธรรมชาติ และวิธีคริกิง โดยใช้ค่าความคลาดเคลื่อนรากกำลังสองเฉลี่ยในการตรวจสอบความแม่นยำของวิธีการประมาณค่า และระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะทางธรณีวิทยาของแอ่งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดการเหลวตัวของดินได้ต่อไปในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

สิทธิกรวนิช ธ., โกมลวิลาศ ว., ธนพลังกร ว. ., & ลิขิตเลอสรวง ส. (2023). ข้อมูลธรณีเทคนิคของแอ่งเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับ การวิเคราะห์การเหลวตัวของดิน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE42–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2058

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##