สมบัติการไหลและกำลังช่วงแรกของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย

  • นิธิพร แสงสาย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธนกร ชมภูรัตน์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พิชชา จองวิวัฒสกุล ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: วัสดุควบคุมกำลังต่ำ, ยางก้อนถ้วย, การไหล, กำลังรับแรงอัดแกนเดียว

บทคัดย่อ

ปัจจุบันผลผลิตยางพารามีจำนวนมากขึ้นแต่การใช้งานและการส่งออกยางพาราลดลงจึงเป็นสาเหตุของราคายางตกต่ำ การใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัสดุในส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำยางพาราไปใช้ให้หลากหลายและยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาสมบัติเชิงกลของวัสดุควบคุมกำลังต่ำและความเป็นไปได้ในการใช้ยางก้อนถ้วยเป็นส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำโดยมีส่วนประกอบ ได้แก่ ซีเมนต์ เถ้าลอย น้ำ ทรายธรรมชาติ และยางก้อนถ้วย ซึ่งจะนำยางก้อนถ้วยไปแทนที่การใช้ทรายธรรมชาติในปริมาณร้อยละ 20, 30 และ 40 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด การทดสอบประกอบไปด้วย ความสามารถในการไหลและการรับกำลังแรงอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 7 และ 14 วัน จากผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการไหลและการรับกำลังอัดแกนเดียวมีค่าลดลงเมื่อปริมาณของยางก้อนถ้วยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ACI 229R ดังนั้นยางก้อนถ้วยจึงน่าจะสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้