พฤติกรรมแรงอัดแกนเดี่ยวของดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมซีเมนต์ที่ผสมเส้นใยเปลือกข้าวโพด

  • พิสิษฐ์ ผลาสิงห์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธนกร ชมภูรัตน์
  • ธนกฤต เทพอุโมงค์
  • สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
คำสำคัญ: ดินตะกอน, ปูนซีเมนต์, เส้นใยข้าวโพด, กำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือทิ้งมาพัฒนาสมบัติทางวิศวกรรมเพื่อเป็นทางเลือกในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการก่อสร้างและเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งแล้วนั้น ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังเช่น ดินตะกอนกว๊านพะเยา และเปลือกข้าวโพด ซึ่งจัดว่าเป็นวัสดุเหลือทิ้งและมีจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดพะเยา การกองเก็บและการกำจัดวัสดุดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมแรงอัดแกนเดี่ยวของดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมปูนซีเมนต์ที่เสริมเส้นใยข้าวโพด โดยทําการทดสอบกําลังอัดแกนเดี่ยวที่ปริมาณปูนซีเมนต์ร้อยละ 7 ปริมาณเส้นใยร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักของดินแห้ง และความยาวเส้นใย 10 20 และ 40 มิลลิเมตร ตามลำดับ ที่อายุการบ่ม 7 วัน ผลการทดสอบกําลังอัดแกนเดี่ยวพบว่าการเพิ่มเส้นใยช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมเปราะของตัวอย่างดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมปูนซีเมนต์ ให้เป็นพฤติกรรมเหนียวและช่วยลดการสูญเสียกําลังหลังจากกําลังอัดสูงสุด ท้ายสุดของงานวิจัยนี้จะนำเสนออัตราส่วนและความยาวที่เหมาะสมของเส้นใยข้าวโพดสำหรับนำไปใช้ในงานวิศวกรรม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>