คุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียวของวัสดุควบคุมกำลังต่ำผสมพลาสติกสำหรับประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง

  • ธีรัช กัลยา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย พะเยา
  • อนุพงศ์ คำปลอด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวทิยาลยัพะเยา
  • ธนกฤต เทพอุโมงค์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวทิยาลยัพะเยา
  • ธนกร ชมภูรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวทิยาลยัพะเยา
คำสำคัญ: วัสดุควบคุมกำลังต่ำ, กำลังรับแรงอัดแกนเดียว, สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์, คอนกรีตรีไซเคิล, ขยะพลาสติก

บทคัดย่อ

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปัจจุบันมีการขยายตัวขึ้นจากอดีตส่งผลให้วัสดุก่อสร้างขาดแคลน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นวัสดุจากธรรมชาติส่งผลทำให้ปริมาณวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะหมดลงในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำ (Controlled low strength material, CLSM) โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและวัสดุรีไซเคิล ประกอบด้วยเถ้าลอย และเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คอนกรีตรีไซเคิลจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในงานวิศวกรรม ขยะพลาสติกจากขวดพลาสติกเหลือทิ้ง และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เพื่อเป็นตัวชะละลายสำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง โดยจะศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม และคุณสมบัติด้านกำลังของ CLSM โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่ความเข้มข้น 10 โมลาร์เป็นตัวชะละลาย และแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยเถ้าหนัก และคอนกรีตรีไซเคิลในอัตราส่วนมวลรวมละเอียดต่อวัสดุประสาน 1.5 และใช้เถ้าลอยกับขยะพลาสติกเป็นวัสดุประสานในอัตราส่วนขยะพลาสติกต่อวัสดุประสานร้อยละ 0 0.25 0.5 และ 1.0 ตัวอย่าง CLSM จะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม ประกอบไปด้วย การยุบตัว การยุบตัวแบบไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว การเยิ้มน้ำ หน่วยน้ำหนัก และนำมาทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียว ซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักสำหรับใช้ในการออกแบบผิวทาง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
How to Cite