การพัฒนาวัสดุควบคุมกำลังต่ำจากเถ้าลอยและเศษแก้วกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์สำหรับประยุกต์ในงานวิศวกรรมผิวทาง

ผู้แต่ง

  • ชุติปภา ดีตอ่ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อนุพงศ์ คำปลอด
  • ธนกฤต เทพอุโมงค์
  • ธนกร ชมภูรัตน์

คำสำคัญ:

1.วัสดุควบคุมกำลังต่ำ, 2.เถ้าลอย, 3.เศษแก้ว, 4.คอนกรีตรีไซเคิล, 5.กำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว

บทคัดย่อ

ประชากรประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 69.8 ล้านคน ทำให้ทรัพยากรถูกใช้เพิ่มขึ้นและเกิดปริมาณของเสียมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2563 เกิดปริมาณของเสียทั้งหมด 25.37 ล้านตัน แต่มีเพียง 8.36 ล้านตัน ที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีแนวคิดในการนำของเสียจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยศึกษาเพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูงและเศษแก้วกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์ วัสดุที่ใช้ประกอบไปด้วย เถ้าลอย และเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เศษแก้วจากขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ คอนกรีตรีไซเคิลจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เป็นตัวชะละลาย โดยใช้อัตราส่วนผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ 10 โมลาร์ อัตราส่วนเถ้าหนักหรือคอนกรีตรีไซเคิลต่อวัสดุประสาน 1.5 อัตราส่วนเศษแก้วต่อวัสดุประสาน 0 20 30 และ 40 และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ต่อวัสดุประสาน 0.015 ในการพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุควบคุมกำลังต่ำอ้างอิงแนวทางตามเอกสาร ACI229R-99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างชั้นพื้นทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยการทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล การไหลแผ่ ระยะเวลาก่อตัวเริ่มต้น และกำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว สุดท้ายในวิจัยนี้จะนำเสนอค่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุผิวทางต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
ดีตอ่ำ ช., คำปลอด อ., เทพอุโมงค์ ธ., และ ชมภูรัตน์ ธ., “การพัฒนาวัสดุควบคุมกำลังต่ำจากเถ้าลอยและเศษแก้วกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์สำหรับประยุกต์ในงานวิศวกรรมผิวทาง”, ncce27, ปี 27, น. GTE20–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##