การพัฒนาการควบคุมกำลังต่ำจากคอนกรีตรีไซเคิลโดยใช้สารกระตุ้นอัลคาไลน์สำหรับประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง

  • กิตติภพ ขวัญตน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยพะเยา
  • อนุพงศ์ คำปลอด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธนกฤต เทพอุโมงค์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธนกร ชมภูรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ: วัสดุควบคุมกำลังต่ำ, เถ้าลอย, คอนกรีตรีไซเคิล, สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์, กำลังรับแรงอัดแกนเดียว

บทคัดย่อ

ปัจจุบันขยะที่เกิดจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำ (controlled low strength material, CLSM) โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วยเถ้าลอยจากโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ ทรายธรรมชาติ คอนกรีตรีไซเคิลจากโครงสร้างอาคารที่เกิดจากการรื้อถอน และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีคุณสมบัติเป็นเบสสูงเพื่อเป็นตัวชะละลาย สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิศวกรรมผิวทาง โดยจะศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม และคุณสมบัติด้านกำลังของ CLSM ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ACI229R-99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีความเข้มข้น 10 โมลาร์ เป็นตัวชะละลายและใช้ทรายธรรมชาติกับคอนกรีตรีไซเคิลเป็นมวลรวมละเอียดในอัตราส่วนคอนกรีตรีไซเคิลต่อวัสดุมวลรวมละเอียดร้อยละ 0 25 50 75 และ 100 ตัวอย่าง CLSM จะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของ CLSM ประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล การไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว การเยิ้มน้ำ หน่วยน้ำหนัก และนำมาทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียวซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักสำหรับใช้ในการออกแบบผิวทาง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
How to Cite