การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารกับการจัดการโครงการก่อสร้างโคกหนองนา

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา แสนแปง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง
  • ธนกฤต เทพอุโมงค์
  • อภิชาติ บัวกล้า
  • ธนกร ชมภูรัตน์

คำสำคัญ:

โคกหนองนา, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, เทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร(Building Information Modeling,BIM) และเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน (Drone Technology) เข้ามาช่วยในการออกแบบโครงการโคกหนองนาร่วมถึงการใช้หาปริมาตรกักเก็บน้ำเทียบวิธีการหารังวัดปริมาตรแบบปกติ ข้อกำหนดในโครงการโคกหนองนาต้องสามารถกักเก็บน้ำรวมทั้งสิ้น 4,000 ลบ.ม.ต่อพื้นที่3ไร่ ในการออกแบบได้ทำการบินโดรนสำรวจประมวลผลภาพแล้วนำมาออกแบบด้วยโปรแกรม Revit ให้ปริมาตรกักเก็บน้ำรวมอยู่ที่ 4,057.65 ลบ.ม. นำแบบที่ออกแบบสร้างในหน้างานจริง ทำการตรวจสอบปริมาตรกักเก็บน้ำ 2 วิธี 1.รังวัดปริมาตรแบบปกติด้วยเทปวัดระยะได้ปริมาตรกักเก็บอยู่ที่ 4,043.75 ลบ.ม. วิธีที่ 2.การรังวัดด้วยพิกัดภาพถ่ายทางอากาศ สามารถหาปริมาตรกักเก็บน้ำรวมทั้งสิ้น 4,042.14 ลบ.ม. จากการศึกษาพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีBIM เข้ามา ช่วยในการจัดการโครงการโคกหนองนาสามารถแสดงค่าปริมาตรของดินขุด ดินถมในโครงการ และยังสามารถแสดงรูปแบบจำลองโมเดล 3 มิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับวิธีการหาปริมาตรแบบปกติค่าที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน และยังช่วยลดระยะเวลา ลดจำนวนคน ในการทำงาน พร้อมทั้งยัง สามารถสร้างแบบ 3 มิติแสดงให้ผู้ที่ต้องการจะทำโครงการโคกหนองนา หรือผู้รับเหมาในการขุดบ่อใด้มองเห็นภาพ และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

วิศวกรรมโยธาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##