การศึกษาประสิทธิภาพจากเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มแบบพันเกลียวในการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ด

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ เปาเล้ง ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปรัชญา ยอดดำรงค์
  • ศักดา กตเวทวารักษ์

คำสำคัญ:

ขยะกล่องเครื่องดื่ม, แผ่นซีเมนต์บอร์ด, มอดุลัสยืดหยุ่น, การพองตัว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาประสิทธิภาพจากเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มแบบพันเกลียวในการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดสำหรับการใช้งานภายในอาคาร โดยทำการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดความหนาแน่น(Density) 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราส่วนระหว่างปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และปริมาณเส้นใยสําหรับการผสมขึ้นรูป 2 ส่วนผสมคือ 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนักและใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.6 ขึ้นรูปจากแบบสำหรับทำแผ่นซีเมนต์บอร์ดขนาด กว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. หนา 2 ซม. และดำเนินการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก. 878-2532 ประกอบด้วย มอดุลัสแตกหัก(MOR) มอดุลัสยืดหยุ่น(MOE) การดูดซึมน้ำ (WA) การพองตัว (TS) รวมถึงความต้านทานต่อการเผาไหม้ของแผ่นซีเมนต์บอร์ด จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าแผ่นซีเมนต์บอร์ดพัฒนาจากการผสมเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มที่มีสัดส่วนซีเมนต์ต่อเส้นใยเท่ากับ 70:30 แบบ 2 เกลียว มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติทางกลและกายภาพมีความเป็นไปได้ในการนําไปประยุกต์ใช้กับงานภายในอาคาร

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07

วิธีการอ้างอิง