การวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลอง SWAT เพื่อประเมินสภาพความปลอดภัยของเขื่อน: กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำลำคันฉู จังหวัดชัยภูมิ

กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำลำคันฉู จังหวัดชัยภูมิ

  • พิษณุ ศรีศุภอรรถ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • หริส ประสารฉ่ำ
คำสำคัญ: อ่างเก็บน้ำลำคันฉู, ปริมาณน้ำท่า, ความปลอดภัยของอ่างเก็บน้ำ, แบบจำลอง SWAT

บทคัดย่อ

ปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในช่วงที่เกิดพายุรุนแรง มีโอกาสส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยของอ่างเก็บน้ำที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการพิจารณาปริมาณน้ำใต้ดินบริเวณโครงสร้างสันเขื่อน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำคันฉู ซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มน้ำชี ระหว่าง พ.ศ. 2561-2563 ซึ่งครอบคลุมช่วงพายุโนอึล โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT จำลองสภาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเทียบกับข้อมูลปริมาณน้ำท่าที่บันทึกจากอ่างเก็บน้ำ และนำผลการวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ใต้ผิวดินเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดบริเวณสันเขื่อน ผลการศึกษาพบว่า การปรับเทียบและสอบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองแสดงค่าดัชนี R2 เท่ากับ 0.74 และ NSE เท่ากับ 0.72 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้เข้าแบบจำลอง SWAT-Check ประเมินปริมาณน้ำใต้ดิน โดยหาความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำใต้ดินที่อ่านได้จากเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนบ่อวัดระดับน้ำใต้ดิน โดยแสดงค่าดัชนี R2 เท่ากับ 0.51 ซึ่งแสดงถึงนัยยะสำคัญว่าปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำส่งผลต่อปริมาณน้ำใต้ดินที่กระทำต่อบริเวณสันเขื่อน วิธีการและผลการศึกษานี้จึงคาดว่าเป็นแนวทางในการนำ SWAT และ SWAT-Check เพื่อใช้วิเคราะห์ในการหาค่าน้ำใต้ดินในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินสภาพความปลอดภัยของเขื่อน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมแหล่งน้ำ

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้