ผลกระทบของแผ่นดินไหวและแรงลมที่มีผลต่ออาคารเตี้ย

  • ชินวัฒน์ เรือนคำปา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • บุญมี ชินนาบุญ
  • สมชาย ชูชีพสกุล
คำสำคัญ: อาคารเตี้ย, แผjนดินไหว, แรงลม, วิธีสถิตเทียบเท่า, วิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบแรงด้านข้างจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมที่มีผลต่ออาคารเตี้ย ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารที่นิยมก่อสร้างจำนวนมากโดยเฉพาะโครงการบ้านจดัสรร การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำเสนอผลวิเคราะห์อาคารตัวอย่าง 1, 2 และ 3 ชั้น โดยตั้งสมมุติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่แผ่นดินไหวรุนแรง อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีค่าอัตราเร่งตอบสนองต่อพื้นดิน 0.2 วินาทีที่  1.086g เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้าง แรงเฉือนที่ฐานอาคาร แรงเฉือนต่อตัวโครงสร่างแนวดิ่ง และเปรียบเทียบผลวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า วิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด และแรงลมตามกฎกระทรวง และมยผ.1311-50 ส่วนที่ 2 วิเคราะห์อาคารตัวอย่าง 2 ชั้น สมมุติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 บริเวณ การศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบแรงกระทำด้านข้างจากแผ่นดินไหวมีผลกระทบต่อตัวอาคารมากกว่าแรงลมอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยวิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด โดยทำการดัดแปลง
สเปกตรัมที่เรียกว่า Modified Response Spectrum Analysis (MRSA) ให้ค่าแรงเฉือนที่ฐานอาคารประมาณ 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีแรงสถิตเทียบเท่า แรงเฉือนในชิ้นส่วนแนวดิ่งเมื่อวิเคราะห์ร่วมกับแรงกระทำแนวดิ่งพบว่าอาคาร 1 ชั้นและ 2 ชั้น แรงเฉือนจากแผ่นดินไหวด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า และวิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมดให้ค่าใกล้เคียงกัน ในส่วนอาคาร 3 ชั้นพบว่าแรงเฉือนในชิ้นส่วนจากวิธีแรงสถิตเทียบเท่าให้ค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้