การพัฒนาแฝดดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารทรัพยากรกายภาพ

  • ทิพยภาวรรณ ตันอ้วน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาสกร แช่มประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พรพจน์ นุเสน สาขาวิชาโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มานพ แก้วโมราเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ: แฝดดิจิทัล, แบบจำลองสารสนเทศ, มาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร

บทคัดย่อ

แฝดดิจิทัล หรือ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เป็นคำที่ใช้บ่อยในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการบูรณาการในโลกแห่ง ความเป็นจริงด้วยแพลตฟอร์มเสมือนจริง การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก การตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยได้มีการพัฒนาระบบแฝดดิจิทัลแบบไดนามิก ในระดับอาคารที่มีการประมวลผลบนคลาวด์ การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลแบบเรียลไทม์ ดังนั้น เพื่อพัฒนาแฝด ดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพนั้น เริ่มต้นจากการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทราบถึงความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร จากนั้นพัฒนาแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัลจากแบบจำลองสารสนเทศ ศึกษามาตรฐานการ ยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร (WELL Building Standard) คัดเลือกมาตรฐานสำหรับใช้งานกับอาคาร และพัฒนากรอบการ ประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศ กับข้อมูลมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคารและแฝดดิจิทัล พร้อมวิเคราะห์ผลและ สรุปผล ผลลัพธ์สำหรับงานวิจัยนี้คือ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบบจำลองสารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัล กับข้อมูลมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร การวิเคราะห์ความสะดวกสบายของผู้ใช้งานอาคารและให้คะแนนจากการรับรองจากมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งาน ในพื้นที่กรณีศึกษาที่แตกต่างกัน การเก็บรวบรวมสภาพแวดล้อมจากเซ็นเซอร์ จะสามารถยกระดับความ สะดวกสบายให้กับอาคารพื้นศึกษาและปรับปรุงอาคารให้ได้ตามมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
สาขาของบทความ
การประยุกต์ใช้ BIM สำหรับงานวิศวกรรมโยธา

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้