การปรับปรุงกระบวนการก่อฉาบด้วยเทคนิคลีน

  • บรรจง ไทยลา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  • เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง
  • พรพจน์ นุเสน
  • มานพ แก้วโมราเจริญ
คำสำคัญ: งานก่อฉาบ, การก่อสร้างแบบลีน, งานก่อสร้างบ้าน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการก่อสร้างแบบลีนถูกกล่าวถึงในอุตสาหกรรมการก่อสร้างซึ่งเป็นการวิเคราะห์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะ กระบวนการก่อฉาบซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกโครงการก่อสร้าง เมื่อวิเคราะห์กระบวนการแล้ว พบว่าจะมีของเสียเกิดขึ้นในหลายแบบหลายขั้นตอน ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการก่อสร้างแบบลีนมาประยุกต์ในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานก่อฉาบ สำหรับบ้านพักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมี ขั้นตอนเริ่มต้นจากการสร้างแผนผังกระบวนการก่อ และกระบวนการฉาบในบ้านพักอาศัย หลังจากนั้นนำแนวทางการก่อสร้างแบบลีนมาวิเคราะห์ และ ทดลองใช้กับงานก่อสร้างพร้อมทั้งเปรียบเทียบระยะเวลาและความสูญเสียที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ จากการศึกษาพบว่าขั้นตอนการทำงาน สามารถทำไปพร้อมๆกันได้หากมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ร่วมกับหลักการที่ถูกต้อง แม้ว่าจำนวนขั้นตอนจะยังคงเดิม แต่สามารถลดเวลาที่ใช้ในงาน ก่อฉาบลง ประมาณร้อยละ 50 จากเดิมใช้เวลาทั้งหมด 32,600 นาที หลังนำลีนมาประยุกต์แล้วจะใช้เวลาทั้งหมด 16,500 นาที ลดลง 16,100 นาที เนื่องจากในขั้นตอนก่อฉาบจะมีขั้นตอนย่อยคือ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ใกล้บริเวณที่ทำงานให้มากที่สุด การผสมปูน ขนปูนและล้างอุปกรณ์ ซึ่ง สามารถทำพร้อมกันได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>