การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารใน การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปริมาณเหล็กเสริมโครงสร้าง, โปรแกรมAutodesk Robot, แรงลม, แรงแผ่นดินไหว, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, BIMบทคัดย่อ
ศึกษาผลกระทบของแรงลมและแผ่นดินไหวเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเหล็กเสริมโครงสร้างคอนกรีตของอาคารในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ไทย โดยการจำลองโมเดลอาคารเรียนต้นแบบตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ด้วยโปรแกรมไฟไนต์อิลิเมนท์โรบอท โดย เลือกใช้อาคาร 3 ขนาดประกอบด้วยขนาด 350 ตารางเมตร 650 ตารางเมตร และ 1,350 ตารางเมตร นำผลการวิเคราะห์โครงสร้างของภูมิภาคที่มี ผลกระทบมากที่สุดและน้อยที่สุดมาประมาณราคางานก่อสร้าง เพื่อเปรียบเทียบกับราคากลางทางด้านปริมาณงานเหล็กเสริมและราคาที่ใช้ในการก่อสร้าง ทั้งนี้เป็นการศึกษาในส่วนของชั้นโครงสร้างตอม่อขึ้นไป
ผลการศึกษาพบว่าแรงแผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อการเกิดแรงเฉือนที่ฐานอาคารและการเคลื่อนตัวทางด้านของอาคารที่ตั้งในภาคเหนือมากที่สุด ขณะที่แรงลมส่งผลต่ออาคารมากที่สุดในภาคใต้ ส่วนของปริมาณเหล็กเสริมที่เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างจะมากขึ้น ตามความรุนแรงของแรงลมและแรง แผ่นดินไหวซึ่งภาคเหนือมีปริมาณสูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยในส่วนของราคาเหล็กเสริมโครงสร้างอาคารคอนกรีตในอาคารขนาด 350 ตาราง เมตร และ 650 ตารางเมตร มีอัตราที่ลดลง ในส่วนของอาคารขนาด 1,350 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์