การปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดินด้วยเสาเข็ม กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา แสนแปง วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พงษ์พินันท์ บูรณะกิติ
  • ขวัญสิรินภา ธนะวงศ์
  • สุริยาวุธ ประอ้าย

คำสำคัญ:

วิเคราะห์เสถียรภาพลาดดิน, วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, การเคลื่อนตัวของดิน, เสาเข็มขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

ทางหลวงในพื้นที่ภูเขาสูงโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยมักจะเจอปัญหาของการพังทลายและการเคลื่อนตัวเชิงลาดถนนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาเสถียรภาพของลาดดิน รวมถึงการออกแบบโครงสร้างและการบำรุงรักษาเชิงลาดของทางหลวงในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ความละเอียดของลักษณะภูมิประเทศมีความสำคัญเมื่อทำการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยทำให้เราสามารถมีข้อมูลด้านภูมิประเทศที่มีความแม่นยำสูงรวมถึงข้อมูลความชันโดยละเอียดสำหรับการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการปรับปรุงเสถียรภาพของเชิงลาดด้วยเสาเข็มขนาดเล็กของทางหลวง หมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม.19+585.00 – 19+750.00 โดยการนำเสนอวิธีการที่รวมระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Positioning System : GPS) และวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แบบ 3 มิติ ทำการศึกษารูปแบบการกระจายแรงในดินและการเคลื่อนตัวของดิน ผลของการสร้างแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าความละเอียดของการเลือกตัวอย่างพื้นผิวมีผลกระทบต่อความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ของการพิบัติของลาดดินที่อาจเกิดขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากการเสริมกำลังด้วยเสาเข็ม และค่าการเคลื่อนตัวของลาดดินของการวิเคราะห์มีค่าใกล้เคียงกับรายงานการตรวจวัดในสนาม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
แสนแปง ป. และคณะ 2020. การปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดินด้วยเสาเข็ม กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE46.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##