การประเมินความสามารถในการประหยัดระยะเวลาการเดินทางของทางพิเศษ

การประเมินความสามารถในการประหยัดระยะเวลาการเดินทางของทางพิเศษ

  • ปิยพงษ์ จันทโชติ
  • วิรภพ เมฆพฤกษาวงศ์
  • กิตติคุณ รอดสกุล
  • ปณิก โพธิสาวัง
  • พรณรงค์ เลื่อนเพ็ชร กองวางแผนปฏิบัติการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ธนานี ไต่เมฆ
  • รวิพันธุ์ เด็ดแก้ว
คำสำคัญ: การประหยัดเวลาการเดินทาง, ทางพิเศษ, ถนนระดับดิน, วิธียานพาหนะทดสอบ, GPS Data Logger

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการประหยัดเวลาการเดินทางของทางพิเศษ โดยการเปรียบเทียบระยะเวลาการเดินทางบนทางพิเศษกับระยะเวลาการเดินทางบนถนนระดับดิน ณ จุดต้นทางและจุดปลายทางการเดินทางเดียวกัน ที่มีลักษณะกายภาพการเดินทางคู่ขนานไปกับทางพิเศษ ซึ่งผู้ใช้ทางสามารถเลือกใช้ทางพิเศษหรือไม่ใช้ทางพิเศษได้ โดยมีปัจจัยจากค่าผ่านทางพิเศษ และมูลค่าการประหยัดเวลาในการเดินทาง การเก็บข้อมูลพิจารณาใช้วิธียานพาหนะทดสอบ ซึ่งติดตั้งระบบ GPS Data Logger สำหรับบันทึกข้อมูลการเคลื่อนที่ของยานพาหนะทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเดินทางระหว่างการใช้ทางพิเศษบนเส้นทางการใช้ทางพิเศษในเขตเมืองกับถนนระดับดิน จำนวน 4 เส้นทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น ประกอบด้วย ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า ทิศทางรามอินทรา-พระราม 9 และ ทิศทางงามวงศ์วาน-ยมราช ช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น ทิศทางพระราม 9-รามอินทรา และ ทิศทางพหลโยธิน-ศรีนครินทร์ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การเดินทางด้วยทางพิเศษในช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถประหยัดระยะเวลาการเดินทางลงได้โดยเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 40 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจราจรบนทางพิเศษโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานสามารถนำไปขยายผลเพื่อประเมินประสิทธิภาพสำหรับทางพิเศษเส้นทางอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
จันทโชติป., เมฆพฤกษาวงศ์ว., รอดสกุลก., โพธิสาวังป., เลื่อนเพ็ชรพ., ไต่เมฆธ. และ เด็ดแก้วร. 2020. การประเมินความสามารถในการประหยัดระยะเวลาการเดินทางของทางพิเศษ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL30.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์