การประเมินด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับรูปแบบการควบคุมทางแยกภายในสถานศึกษา

  • ชญาดา รวิวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นพดล กรประเสริฐ
คำสำคัญ: การจราจรติดขัด, พลังงาน, มลพิษทางอากาศ, แบบจำลองการจราจร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนส่งผลให้เกิดการความสูญเสียพลังงานและผลกระทบทางด้านมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกในเขตสถานศึกษาที่มีการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก การออกแบบและควบคุมการจราจรบริเวณทางแยกที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้สภาพการจราจรคล่องตัว ลดความล่าช้าในการเดินทางแล้ว ยังจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและมลพิษทางอากาศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับการออกแบบควบคุมทางแยกรูปแบบต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาคและแบบจำลองการปล่อยมลพิษทางอากาศ สำหรับวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการเดินทางและมลภาวะทางอากาศของรูปแบบการควบคุมทางแยก 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) ทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร (2) ทางแยกที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบ 2 จังหวะ (3) ทางแยกที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบ 4 จังหวะ และ (4) ทางแยกรูปแบบวงเวียน ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้สภาพการจราจรเดียวกัน รูปแบบการควบคุมทางแยกต่าง ๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านการใช้พลังงานและมลภาวะทางอากาศในปริมาณที่แตกต่างกัน การออกแบบควบคุมทางแยกที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและต่อชุมชนมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>