แบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรของการดำเนินงานระบบเครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง

  • โสรยา ปิยะวราภรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นพดล กรประเสริฐ
คำสำคัญ: ผลกระทบด้านการจราจร, ด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุก, เครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง, แบบจำลองการจราจร, เทคโนโลยีการขนส่ง

บทคัดย่อ

การจำกัดเวลาและเส้นทางการเดินรถบรรทุกส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรของรถบรรทุกที่หนาแน่น เกิดความล่าช้าในการเดินทาง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น และสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐานทางถนนบนทางสายหลัก เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานน้ำหนักรถบรรทุกให้เกิดประสิทธิภาพ หน่วยงานทางได้จัดให้มีด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกบนโครงข่ายถนน แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกส่งผลกระทบด้านการจราจรต่อการเดินทางของรถบรรทุกและการจราจร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ระบบการตรวจชั่งน้ำหนักแบบอัตโนมัติด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีตรวจชั่งขณะรถวิ่ง (Weigh-in-Motion) หรือ WIM มาช่วยในการตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกและคัดแยกรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน  วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจรของสถานีตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกแบบอัตโนมัติบนถนนสายหลัก 4 ช่องจราจร โดยอาศัยการพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Traffic Simulation) ของด่านชั่งน้ำหนักรูปแบบต่าง ๆ และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบด้านการจราจร งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองของด่านชั่งน้ำหนัก 3 รูปแบบเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ได้แก่ (1) ด่านชั่งน้ำหนักถาวร (2) ด่านชั่งน้ำหนักถาวรแบบใช้เครื่องชั่งขณะรถวิ่ง (WIM) ในการคัดแยกรถบรรทุก และ (3) ด่านชั่งน้ำหนักแบบใช้เครื่องชั่งอัตโนมัติขณะรถวิ่ง (WIM) ในการตรวจสอบน้ำหนัก แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นประเมินผลกระทบด้านการจราจรด้วยดัชนีชี้วัดความเร็วเฉลี่ยในการเดินทาง ความล่าช้าในการให้บริการ และความยาวแถวคอย ผลของการวิจัยจะช่วยแนะนำถึงเงื่อนไขการจัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักในรูปแบบต่าง ๆ และสภาพการจราจรที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้เครื่องชั่งขณะรถวิ่ง (Weigh-in-Motion)

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
ปิยะวราภรณ์โ. และ กรประเสริฐน. 2020. แบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรของการดำเนินงานระบบเครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL32.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>