การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาคารกับโครงการก่อสร้างจริง กรณีศึกษา โครงการ บูสท์ ฟิตเนส ยิม
คำสำคัญ:
แบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคาร,การถอดปริมาณงาน,การประมูลงานก่อสร้างบทคัดย่อ
ปัจจุบันการประมูลงานก่อสร้างมีการแข่งขันที่สูง ถูกบีบด้วยราคาประมูลและระยะเวลาในการถอดปริมาณงาน ความรวดเร็วและความแม่นยำในการถอดปริมาณงานเป็นสิ่งจำเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกแห่ง บทความฉบับนี้มีจุดประสงค์หลัก เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการเข้ามาประยุกต์หรือแทนที่แผนกสำรวจปริมาณงาน (Quantity Surveyor) โดยเป็นกระบวนการสร้างแบบจำลองอาคาร ในระบบ 3 มิติ และสามารถถอดข้อมูลปริมาณงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างได้ ใช้ในการประมาณราคาต้นทุนค่าก่อสร้างในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา ( Bill Of Quantities : BOQ) ที่ใช้ในการแข่งขันการประกวดราคาค่าก่อสร้าง ในการวิเคราะห์ผลมีการแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกปริมาณงานที่ได้จากแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคาร ส่วนที่สองปริมาณงานที่ได้จากบุคคลากรในแผนกสำรวจปริมาณงาน ส่วนที่สามปริมาณงานที่ได้จากการเก็บข้อมูลการก่อสร้างที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยที่จะทำการนำเสนอ ได้แก่ ผลการเทียบปริมาณงานโครงสร้าง ผลการเทียบระยะเวลาในการดำเนินการถอดปริมาณงาน และ ผลการเทียบจำนวนบุคคลากรในการถอดปริมาณงาน พร้อมทั้งนำผลวิเคราะห์ให้ทางบริษัทที่สนใจได้พิจารณาการจัดซื้อซอฟต์แวร์แบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคารต่อไป
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
ธนิต อภิวรกุลพัฒน์ (2560). "แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร" วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์