ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความล่าช้าของงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
คำสำคัญ:
ปัจจัยความล่าช้า, โครงการก่อสร้าง, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูบทคัดย่อ
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีการใช้ทรัพยากรที่สูง ทั้งด้านเงินทุน และทรัพยากรอื่น ๆ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือ ความล่าช้าในงานก่อสร้างของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้การดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าล่าช้า พร้อมทั้งหาแนวทางควบคุมปัจจัยดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) โดยการใช้แบบสอบถามในการสำรวจปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ ของบริษัทผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในโครงการ จากการใช้สูตร Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน ตัวแปรทางสถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และจัดลำดับความรุนแรงของแต่ละปัจจัย (Severity Index) ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความล่าช้าของงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 5 อันดับแรก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ 1. การอนุมัติแบบที่ใช้ในการก่อสร้าง (Shop Drawing) ล่าช้า 2. ความล่าช้าจากเจ้าของงานในการตอบคำถามจากผู้รับเหมา 3. การออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของแบบที่ใช้ในการก่อสร้างและรายละเอียดกำหนดการต่างๆ 4. การใช้บุคลากรไม่เหมาะสมกับงานและมีบุคลาการไม่เพียงพอ 5. การที่มีแรงงานก่อสร้างไม่เพียงพอ ในด้านผลกระทบที่มีต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และในด้านความถี่ที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับน้อย แนวทางในการป้องกันเบื้องต้น คือการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในงานก่อสร้างเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ควรสรรหาบุคลากรให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงานโดยบุคลากรมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จตามแผนงานที่ได้วางไว้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์