การวิเคราะห์และออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel
คำสำคัญ:
โครงถัก, Microsoft Excel, ไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป, ไม้ไอศกรีมบทคัดย่อ
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel โดยเริ่มจากการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุ เลือกรูปแบบโครงถักที่สนใจ และทำการสร้างสูตรสำหรับใช้ในการวิเคราะห์โครงถักด้วยโปรแกรม Microsoft Excel จากนั้นนำโครงถักที่ได้เลือกไว้ทั้งสิ้น 9 รูปแบบ มาทำวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel, โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป แล้วทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงภายในโครงถัก ของทั้งสองโปรแกรม และทำการประกอบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมเพื่อนำไปทดสอบรับน้ำหนักบรรทุก และทำการเปรียบเทียบค่าการโก่งตัวจากการทดสอบ กับการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป
ผลจากการเปรียบเทียบโครงถักที่แตกต่างกันทั้งหมดจำนวน 9 รูปแบบ ที่น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในการวิเคราห์สูงสุดเท่ากับ 50 กิโลกรัม พบว่าค่าแรงภายในจากการวิเคราะห์โครงถักด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป นั้นมีค่าที่แตกต่างกันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.21 กิโลกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 4.10 และได้ผลการเปรียบเทียบค่าการโก่งตัวจากการทดสอบ กับการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป มีค่าใกล้เคียงกัน ต่างกันอยู่เพียงแค่ร้อยละ 2.62 จากผลการเปรียบเทียบข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่าโปรแกรม Microsoft Excel สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และการออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีม จำนวน 9 รูปแบบ แทนการใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูปได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
สิทธิชัย แสงอาทิตย์, ทฤษฏีโครงสร้าง, พิมพ์ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ,นครราชสีมา, 2557
วีระพงษ์ ไชยสถิตวานิช ,พัฒนาการคำนวณออกแบบอย่างเหมาะสม สำหรับโครงถักที่มีพฤติกรรมไม่เชิงเส้นด้วยวิธีงานสมมุติ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539
ผศ.เสริมพันธ์ เอี่ยมจะบก ,คู่มือการออกแบบโครงสร้างเหล็กด้วย Multiframe 4D ,พิมพ์ครั้งที่ 1 , สถาบันฝึกอบรมทางวิศวกรรมและก่อสร้าง TumCivil.com Training Center , 2556
วรพรรณ วงศ์สรรคกร ,พัฒนาการคำนวณและออกแบบโครงถักเหล็กระนาบอย่างเหมาะสมด้วยวิธีงานสมมุติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
อิทธิพงศ์ พันธ์นิกุล, การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของโครงข้อหมุนที่ใช้วัสดุน้อยที่สุด, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์