ผลิตภัณฑ์บล็อกประสานจากฝุ่นหินแกรนิตผสมป้ายไวนิลเหลือทิ้ง
คำสำคัญ:
บล็อกประสานขนาดเล็ก, ฝุ่นหินแกรนิต, ไวนิลเหลือทิ้ง, ปูนซีเมนต์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำขยะป้ายไวนิลเหลือทิ้ง มาเป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์บล็อกประสาน โดยใช้อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ต่อ ฝุ่นหินแกรนิตที่อัตราส่วนผสม 1 : 3 และได้เพิ่มปริมาณไวนิลเหลือทิ้งบดละเอียดในอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 โดยน้ำหนักของวัสดุผสมตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าที่ปริมาณไวนิลเหลือทิ้งในอัตราส่วนผสมร้อยละ 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 โดยน้ำหนักของวัสดุผสม มีค่ากำลังต้านแรงอัดเฉลี่ย 66.51, 52.19, 47.22 และ 38.03 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ที่อายุ 28 วันตามลำดับ ซึ่งผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอิฐบล็อกประสาน (มผช. 602/2547) กระทรวงอุตสาหกรรม ชนิดไม่รับน้ำหนัก โดยการเพิ่มปริมาณไวนิลเหลือทิ้งบดละเอียด ในส่วนผสมจะทำให้ค่ากำลังต้านทานแรงอัด ค่าความหนาแน่นลดลง ค่าการดูดกลืนน้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่จะส่งผลดีต่อการเป็นฉนวนกันความร้อน และเป็นการลดปัญหาขยะจากไวนิลเหลือทิ้งในสิ่งแวดล้อมได้อีกแนวทางหนึ่ง
Downloads
เอกสารอ้างอิง
อภินันท์ เปรี้ยวหวานและคณะ (2560),บล็อกประสานขนาดเล็กจากขยะเปลือกไข่
จิรพงศ์ สุขสอนและคณะ (2561),บล็อกประสานขนาดเล็กจากฝุ่นหินแกรนิตปริญญานิพนธ์
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์